ในกรณีของการใช้ลำโพงแบบปกติ ลำโพงลอยตัวที่ไม่ใช่ลำโพง แซทเทิลไลซ์ หรือลำโพงบิวท์อิน การเซ็ตอัพลำโพงหรือการวางลำโพงในจุดที่ดีที่สุดนั้นจะส่งผลให้เสียงมีความเป็นธรรมชาติและดึงความสามารถของลำโพงออกมาได้อย่างหมดจด วิธีการก็ไม่ได้ยากเย็นอะไร จากที่น้าอ้อได้ให้แนวทางไว้ แบ่งห้องให้ได้สัดส่วน เริ่มต้นหาเสียงเบสให้ได้เสียงเบสที่ดีก่อนโดยการขยับลำโพง เดินหน้า – ถอยหลัง เมื่อได้เบสที่ดีที่มีแรงปะทะมีมวลเนื้อเสียงความถี่ต่ำ ไม่บวม ไม่เบลอ ไม่แข็ง เก็บตัวดีและให้เสียงเบสอยู่เกาะๆพื้นไม่ลอย จะเป็นจุดที่ควรตั้งลำโพงมากที่สุด ติดตามอ่านอย่างละเอียดได้จากบทความของน้าอ้อในลิงก์นี้ครับ
ข้อนี้เป็นผลพวงที่สำคัญที่สุดของการ เซ็ตอัพลำโพงครับ การเซ็ตอัพที่ตัดความถี่ 80 Hz หรือสูงกว่านั้น เป็นการเซ็ตอัพแบบง่ายๆที่สามารถเซ็ตได้ทุกชุดแต่ไม่ได้ดึงประสิทธิภาพสูงสุด ยิ่งถ้าลำโพงขนาดใหญ่การตัดความถี่สูงจนเกินไปจนกลายเป็นลำโพงเล็ก ทำให้เราไม่ได้ใช้ประสิทธิภาพของลำโพงเต็มที่คุ้มค่ากับเงินที่จ่าย ยกตัวอย่างเช่นลำโพง B&W 800D3 ตอบสนองความถี่ได้ถึง 13Hz ถึง 35kHz เป็นเหตุผลที่ท่านจ่ายเงินกว่าล้านบาท เพราะต้องการความถี่ต่ำ 13Hz นี้ แต่ถ้าท่านตัดความถี่ทิ้งที่ 80Hz หรือ 100Hz ลำโพงคู่นี้จะกลายเป็นลำโพงเล็ก ประสิทธิภาพเทียบเท่ากับลำโพงวางหิ้ง B&W 805D3 ราคาคู่ละ 200,000 บาท ไปในทันที เปรียบเทียบให้เห็นภาพคือท่านจ่ายเงินเพิ่มจาก B&W 805D3 เป็น 800D3 จ่ายเงินเพิ่ม 1,200,000 บาท เพื่อต้องการ เสียงเบสต่ำลึก 13Hz แต่กลับไม่ได้ใช้ประโยชน์ของเสียงเบส 800D3 เลยแม้แต่น้อย เพราะตัดความถี่ต่ำ 80Hz ไปให้ซับวูฟเฟอร์ทำงานแทนนั่นเอง คำถามต่อไปคือราคาและคุณภาพของซับตัวนั้น คุ้มกว่าเงิน 1,200,000 บาท ที่ท่านจ่ายเพิ่มหรือไม่ ถึงแม้ว่าการตัดความถี่ที่สูง 80Hz หรือ 100Hz แล้วใช้ซับมาต่อรับ ที่ 80Hz หรือ 100Hz นี้ได้ แต่ความไวของซับนั้นยากที่จะทันกับลำโพงหลัก เป็นเนื้อเดียว เปรียบเทียบง่ายๆเหมือนการใช้ซับดูหนังมาเสริมฟังเพลง เมื่อคุณเปิดเพลงคู่หน้าพร้อมซับ มันจะมีการเหลื่อมของเสียง นั่นจึงเป็นเหตุผลที่หลายท่านเลือกที่จะปิดซับในการฟังเพลง ในระบบ Home theater ก็เช่นเดียวกัน ซับที่มาต่อกับลำโพงหลักที่ตัดสูงเกินความจำเป็น นอกจากทำให้ลำโพงที่ท่านซื้อมาใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ คุณภาพของซับตัวนั้น ยากที่จะเปรียบเทียบกับ Woofer ของลำโพง Hi-End ที่มีคุณภาพดีกว่า และให้เบสที่กลมกลืนกับลำโพงกลางแหลมในตู้เดียวกันได้สมบูรณ์แบบมากกว่า ไม่มีการเหลื่อมของเสียงในจุดตัด 80Hz หรือ 100 Hz แต่อย่างใด ข้อดีของการตัดที่ 80Hz หรือ 100Hz นั้น ง่ายในการเซ็ทอัพเพราะ เป็นการโยนภาระเสียงต่ำไปที่ซับ ทำให้ลำโพงหลักไม่มีเบส ทำให้การปรับ EQ นั้นง่าย กราฟเรียบได้ง่าย ปกติทีมช่างของปิยะนัสที่ผ่านการเรียนคอร์ส HAA สามารถปรับจูนได้ในเวลา 1-2 ชั่วโมง ได้กราฟสวย แต่ไม่สะท้อนถึงคุณภาพเสียงที่แท้จริง เพราะการทำให้กราฟเรียบสวยนั้นง่ายมาก ยิ่งตัดความถี่ลำโพงให้สูง ยิ่งทำกราฟสวยง่าย เพราะลำโพงหลักแทบไม่มีเบสเหลือเลย แต่กราฟที่เรียบจนเกินไปมีผล ให้ความสนุกในการฟังจะลดลง ซิสเต็มขาดชีวิตชีวา เหมือนที่ Anthem ARC ที่เป็นโปรแกรมออโต้ปรับเสียง จะไม่ปรับจนกราฟเรียบสนิท เพราะวิศวกรกล่าวว่าเป็นผลเสียมากกว่าผลดี เพราะเสียงจะขาดชีวิตชีวาลงไป และการปรับ EQ ลำโพงหลัก ยิ่งทำมากยิ่งเปลี่ยนบุคลิกลำโพงไปอย่างน่าเสียดาย การขยับลำโพงตามข้อ 1 จึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เปรียบเสมือนการเล่นเครื่องเสียง 2 แชนแนล ที่ทุกคนพยายามเลี่ยงการใช้ EQ แต่ใช้การเซ็ทลำโพงช่วย ในระบบ Home theater ก็ไม่ต่างกัน ในระบบ 7.1 ถ้าเราตัดความถี่ 80 Hz ทุกแชนแนลให้ซับ 1 ตัว ทำงาน หมายความว่าซับตัวนั้นจะรับภาระความถี่ 80Hz ของทุกแชนแนลลงมาที่ตัวมัน และต้องทำงาน LFE ในฉากที่มีเสียงระเบิด ซับวูฟเฟอร์ 1 ตัว ทำงาน 8 อย่างในเสี้ยววินาทีที่ทุกแชนแนลดังพร้อมๆกัน ความเป็นจริงในช่วงเวลานั้นซับ 1 ดอก ไม่มีทางที่จะเสริมลำโพง 7 แชนแนล พร้อมๆ กับ LFE ด้วยในตัวเอง และนี่คือตัวอย่างของ 7 แชนแนล และถ้ามีแชนแนลเพิ่มหรือเสริมลำโพง Atmos อีก 4 ตัว นั่นหมายความว่าซับ 1 ตัวต้องรับภาระของ 10 กว่าแชนแนล และนี่คือข้อจำกัดของการเล่น Home theater ที่เราเล่นกันมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นการที่จะทำให้คุณภาพเสียงดีขึ้น เรื่องแรกคือ การตัดความถี่ต่ำของลำโพงไปที่ซับให้น้อยลง เพื่อให้ซับทำงานเสริมลำโพงหลักให้น้อยที่สุด ถ้าขยับลำโพงได้ให้ขยับลำโพงช่วย ถ้าขยับไม่ได้ลองตัด 40Hz, 60 Hz ถ้าลำโพงหลักยังทำงานได้ดี เบสไม่บวมเบลอเป็นอันใช้ได้ ภาระของซับจะถูกแบ่งเบาลงอย่างมาก ผลที่ได้คือเสียงซับและเสียงลำโพงหลักที่สะอาดขึ้น อย่างเห็นได้ชัด ทางเลือกที่สองคือ ในเมื่อซับ 1 ตัวไม่สามารถรับภาระเสียงต่ำได้พร้อมกันทุกแชนแนลในเสี้ยววินาทีเดียวกัน REL จึงนำเสนอนวตกรรมที่มาแก้ปัญหานี้คือใช้ซับวูฟเฟอร์ REL เสริมแต่ละแชนแนล แยกกันเด็ดขาด เรียกว่า REL 3D ซับวูฟเฟอร์1 ตัวทำงานได้สูงสุดคือแค่ 2 แชนแนล ไม่ทำมากกว่านั้น ดีที่สุดคือซับ 1 ตัวเสริม 1 แชนแนล โดยที่ REL ไม่แนะนำให้ตัดความถี่ลำโพงเป็น SMALL เพราะต้องการให้ลำโพงทุกแชนแนลทำงานเต็มความสามารถ จนถึงย่านความถี่ที่ลำโพงแชนแนลนั้นๆทำงานไม่ได้จึงนำ REL เข้าไปเสริม ต่อความถี่ให้ลงลึกถึง 20Hz ทางช่องต่อ HI-LEVEL ที่ใช้สัญญาณทางขั้วลำโพงเดียวกันกับลำโพงหลัก และด้วยสปีดที่เร็วเท่าทันลำโพงหลัก เสียงจึงกลมกลืนกันเป็นเนื้อเดียว เหมือนที่หลายท่านเสริม REL ในการฟังเพลง นั่นจึงเป็นที่มาของการที่ REL ออกซับ HT Series โดยมีจุดประสงค์หลัก เพื่อให้นักเล่น แยก LFE ออกจาก HI-LEVEL ออกมาแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ในเสี้ยววินาทีที่สัญญาณ LFE เกิดขึ้น ซับ HT Series จะรับภาระในเรื่อง LFE เท่านั้น ส่วนซับที่เสริม HI-LEVEL กับลำโพงหลักก็ทำงานเสริมลำโพงหลักตามปกติ ไม่ต้องรับภาระทำ LFE ข้อควรระวัง!! ถ้าท่านใช้ REL แบบ HI-LEVEL ร่วมกับชุดดูหนัง ไม่ว่าจะเอาไปใช้กับแชนแนลใดก็ตาม ท่านต้องปรับให้ลำโพงในแชนแนลนั้นๆ ต้องเซ็ทเป็น LARGE เสมอ ห้ามตัดความถี่เด็ดขาด ไม่อย่างนั้นซับ REL ที่ต่อ HI-LEVEL จะไม่ทำงาน หรือถ้าทำงานก็เบามากๆจนไม่เป็นประโยชน์กับท่านเลยครับเพราะโดยปกติแล้ว เราปรับความถี่ของ REL โดยการเติมเต็มช่วงความถี่ที่ลำโพงหลักของเราทำงานลงต่ำได้ไม่ถึงแล้ว REL จะรับหน้าที่ตรงนั้นต่อไป โดยทั่วไปแล้วจะอยู่ที่ประมาณช่วง 50Hz ลงไปครับ การตัดความถี่ต่ำออกตั้งแต่ 80Hz ขึ้นไป ทำให้ Rel ไม่ได้รับสัญญาณความถี่ต่ำมาทำงานเพราะ HI-LEVEL รับสัญญาณจากขั้วลำโพงที่แอมป์เช่นเดียวกันกับลำโพงครับ
ถ้าท่านกำลังเริ่มทำห้องสำหรับดูหนังและฟังเพลงโครงสร้างยิ่งแข็งแรงยิ่งดีเพราะความแข็งแรงของผนังห้องทุกด้านมีผลโดยตรงกับเสียงความถี่ต่ำทั้งหมดเพราะความถี่ต่ำเป็นมวลพลังงานที่มากเป็นคลื่นที่อัดอากาศและมีพลังงานสั่นสะเทือนมากมีความยาวคลื่นที่ยาว ถ้าผนังห้องและฝ้าไม่แข็งแรงก็จะทำให้เสียงเบสหายไปได้เลย เพราะเมื่อความถี่ต่ำออกจากลำโพงและซับวูฟเฟอร์ไปกระทบกับผนังห้องและฝ้าที่ไม่แข็งแรงก็จะเกิดรูปแบบการสั่นที่เป็นเหมือนไดอะแฟรมขนาดใหญ่ขยับตัวทำให้เสียงความถี่ต่ำถูกสลายออกไปได้ เมื่อเสียงเบสไม่ดี ไม่มีมวลไม่มีเนื้อ เสียงกลางก็จะพุ่งและสาก เสียงแหลมจะคมจัดจ้าดจนไม่น่าฟัง แต่ถ้าห้องแข็งแรงดีฝ้าไม่สั่น เบสจะแน่นมีพลังมีน้ำหนักและมีมวลความถี่ต่ำที่ครบถ้วน ถ้าเสียงเบสดีเสียงกลางก็จะมีเนื้อฉ่ำๆทำให้ฟังแล้วไม่ผอมไม่บาง เมื่อเสียงกลางดี เสียงแหลมก็จะดี มีรายละเอียดพริ้วมีประกายมีฮาโมนิคส์ ของเสียงที่น่าฟัง มีบรรยากาศที่ดี เช่นกันกับข้อที่ 1 เซ็ตอัพลำโพงได้ดี เบสดีทุกอย่างจะลงตัวน่าฟังทั้งหมด แท้จริงแล้วเบสเป็นหัวใจและเป็นเสียงที่ผู้คนส่วนใหญ่ชื่นชอบ เบสที่ดีสะอาดและเป็นธรรมชาติจะช่วยให้ทุกเสียงดีขึ้นอย่างชัดเจน
ในเรื่องของความก้องของเสียงก็เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะยิ่งห้องก้องมาก เสียงต่างๆจะบวมเบลอ ขาดความสมจริง โชคดีของนักเล่นสมัยนี้ที่มีผลิตภัณฑ์ ของ Vicoustic ที่สามารถนำไปประยุต์ใช้ได้ในห้องฟังแบบจริงจังหรือในห้อง Living room ได้อย่างง่ายดายและให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นชัดเจน ขั้นตอนพื้นฐานในการปรับให้ได้อคูสติกที่ดีในของโฮมเธียเตอร์ มี 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ทำให้ได้ค่า Reverberation Time (RT) ที่ดีที่สุด, ควบคุมการสะท้อนเสียงลำดับแรก (Early Reflections) และ ควบคุมเสียงที่อาจผิดปกติ (Sound Field Anomalies) ทำให้ค่า Reverberation Time ดีที่สุด (RT)
ควบคุมการสะท้อนเสียงลำดับแรก
Room Modes Control
เฟส คือ หัวใจหลักของการเริ่มต้นเซ็ตอัพซัปวูฟเฟอร์ ถ้าเซ็ตเฟสไม่ถูกต้องทั้งหมดทั้งมวลที่ทำกันมากก็สูญเปล่าครับ เหมือนจะเป็นเรื่องที่ยากแต่ที่จริงแล้วมันง่ายมากๆ เราจะเน้นเพียงแค่ 0 – 180 องศาเท่านั้นนะครับ จุดนี้สำคัญมากถ้าเฟสไม่ถูกต้อง เสียงเฟสของซับจะไปหักล้างกับเสียงเบสลำโพงหลัก เร่งเท่าไรเบสก็ไม่มา ข้อสังเกตง่ายๆคือ ถ้าท่านต้องเร่งซับสูงมากจนถึงบ่ายโมง หรือเกินกว่านั้น สันนิษฐานได้เลยว่าเฟสผิดเพราะ ถ้าเฟสถูกต้อง ซับวูฟเฟอร์เร่งเต็มที่ไม่เกิน 11 โมงเสียงต้องครบเต็มห้องแล้ว ถ้าท่านเร่งซับจนบ่าย 2 แล้วไม่มีเบส วิธีแก้ก็ง่ายมาก เดินไปสลับเฟสอีกครั้ง ถ้าเบสกลับมาดังมากก็ใช้ค่านี้ แล้วลดโวลุ่มไปที่10-11 โมง ได้ตามปกติ คุณภาพของซับวูฟเฟอร์มีความสำคัญอย่างมาก ซับที่ดีจะมีรายละเอียดของเสียงความถี่ต่ำที่ครบถ้วนสมบูรณ์ตัวโน็ตชัดเจนมีความผ่อนหนักเบาได้ดีต้องไม่ใช้เสียงที่ดังอย่างเดียว และต้องหยุดตัวได้ดี และไม่แข็งแบบกระแทกจนจุกอกเพราะถ้าแข็งแบบนั้นรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ก็หายไปหมดแน่นอนครับ |